หน่วยที่ 9 รายได้ประชาชาติ

ความหมายและความสำคัญของรายได้ประชาชาติ

รายได้ประชาชาติ (national income) หมายถึงรายได้ของประชากรในประเทศใดประเทศหนึ่งรวมกันในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือมูลค่าของสินค้าและบริการรวมทั้งหมดที่ประชากรของประเทศนั้นผลิตได้ในรอบระยะเวลาหนึ่ง (ปกติ1 ปี)

อย่างไรก็ตาม คำว่า รายได้ประชาชาติ เป็นคำกลางๆที่กล่าวถึงผลผลิตหรือรายได้รวมของชาติ ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ได้มีการจำแนกประเภทของรายได้ประชาชาติออกเป็น 7 ประเภทดังนี้

ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product, GDP)
คือมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตได้ภายในประเทศ โดยยึดอาณาเขตพื้นที่ของประเทศเป็นสำคัญ กล่าวคือ สินค้าและบริการใดก็ตามที่ผลิตขึ้นภายในประเทศใดจะถือเป็นผลผลิตภายในประเทศนั้น โดยไม่คำนึงว่าทรัพยากรที่นำมาผลิตสินค้านั้นเป็นของชนชาติใด กล่าวคือ ชาวต่างประเทศที่นำทรัพยากรเข้ามาตั้งโรงงานผลิตสินค้าในประเทศไทย ผลผลิตที่ได้จะรวมอยู่ใน GDP ของไทย ในทางตรงข้าม คนไทยที่นำทรัพยากรออกไปผลิตสินค้าในต่างประเทศ ผลผลิตที่ได้ก็จะรวมอยู่ใน GDP ของประเทศนั้น จะไม่นำมารวมไว้ใน GDP ของประเทศไทย

ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product, GNP)
คือมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นด้วยทรัพยากรของประเทศในระยะเวลาหนึ่ง ให้สังเกตว่าสินค้าที่ผลิตขึ้นด้วยทรัพยากรของประเทศไม่จำเป็นต้องมีมูลค่าเท่ากับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศเสมอไป อาจแตกต่างกันได้ถ้าหากมีการนำทรัพยากรออกไปผลิตในประเทศอื่น และ/หรือประเทศอื่นนำทรัพยากรเข้ามาผลิตในประเทศไทย ดังนั้นGNP จะเท่ากับ GDP เฉพาะเมื่อไม่มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรระหว่างประเทศ แต่ถ้ามีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรระหว่างประเทศ GNP จะต่างกับ GDP เท่ากับรายได้สุทธิจากต่างประเทศ


ประเภทของรายได้ประชาชาติ

รายได้ประชาชาติสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ชนิด คือ ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ รายได้ประชาชาติรายได้ส่วนบุคคล รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง และรายได้ต่อหัว โดยรายได้ประชาชาติดังกล่าว มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ชมเพลิน จันทร์เรืองเพ็ญ 2532 : 20-27 )

11.4.1 ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product : GDP)

เป็นมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Product) ที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศ ในระยะเวลาหนึ่ง โดยถือเอาอาณาเขตทางการเมือง (Political Frontier) เป็นสำคัญ โดยไม่คำนึงว่าทรัพยากรนั้นจะมาจากที่ใด ดังนั้น GDP = รายได้ทั้งหมดภายในประเทศ โดยที่ GDP คิดจากรายได้ของประชาชนทุกคนที่ผลิตขึ้นในประเทศ และรวมทั้งรายได้ของชาวต่างประเทศที่ผลิตขึ้นในประเทศด้วย จึงสรุปได้ว่ารายได้จากผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น รวมทั้งการลงทุนและผลผลิตต่าง ๆ ของชาวต่างประเทศที่ทำการผลิตในประเทศไทยด้วย โดยมีสูตรคำนวณดังนี้

ดัชนีผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น = GDP ตามราคาปีปัจจุบัน x 100

GDP ตามราคาปีฐาน

แต่ถ้าการปรับผลิตภัณฑ์ประชาชาติตามราคาปัจจุบันให้เป็นราคาคงที่ จะมีสูตรคำนวณ ดังนี้

Real GNP ปีที่ ก = money GNP ปีที่ ก

GDP deflator

เนื่องจากผลิตภัณฑ์ตามราคาคงที่ ได้ขจัดความผันผวนของราคาในแต่ละปีออกไปแล้ว จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ประชาชาติมีราคาคงที่ในแต่ละปี ซึ่งแสดงเฉพราะปริมาณผลผลิตอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีอิทธิพลด้านราคาเข้ามาเกี่ยวข้อง

11.4.2 ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product : GNP)

คือมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ประชาชนของประเทศทำการผลิตขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง โดยนับรวมทั้งที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ และต่างประเทศด้วย เช่น ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นของไทย หมายถึงรายได้ของประชาชนในประเทศทั้งหมด รวมทั้งรายได้ที่คนไทยไปทำงานหรือลงทุนในต่างประเทศด้วย ดังนั้น GNP = รายได้ของประชาชนในประเทศทั้งหมดรวมกับรายได้สุทธิต่างประเทศ (X-M)

ดังเช่น คนไทยไปทำงานในต่างประเทศหรือนักธรุกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศแล้วส่งรายได้กลับประเทศไทย รายได้ส่วนนี้เป็นผลิตภัณฑ์เบื้องต้นของประเทศไทย ดังนั้น GNP จึงรวมรายได้ของคนไทยทั้งหมดไม่ว่าจะลงทุนผลิตในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม


การคำนวณรายได้ประชาชาติ
1. การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านผลผลิต

การคำนวณสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1.1 คำนวณจากผลรวมของมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย(Final goods ands Serice)

ไม่รวมเอาผลผลิตขั้นกลางหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตเข้าไปด้วย เพราะฉะนั้นจะเป็นการนับซ้ำ

1.2 คำนวณจากผลรวมของมูลค่าเพิ่ม(Total Value Added)

วิธีนี้เป็นการขจัดปัญหาการนับซ้ำ
2. การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้

ประกอบด้วย ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

2.1 ค่าจ้างเงินเดือนและเงินทดแทนอื่น (Wages and Other Comppnsatjon of Employees)

ซึ่งได้แก่ ค่าตอบแทนลูกจ้างที่จ่ายให้โดยตรง คือ เงินเดือน ค่าลวงเวลาและผลประโยชน์ตอบแทน

อย่างอื่นที่จ่ายเพิ่มเติมทางอ้อมทั้งที่เป็นตัวเงิน เช่น ประกันสังคม ค่ารักษาพยาบาล เงินโบนัส

2.2 รายได้ที่เอกชนได้รับในรูปค่าเช่า (rental income of persons)

หมายถึงค่าที่เอกชนได้รับจากการให้เช่าที่ดิน เคหสถานและทรัพย์สินอื่น

2.3 ดอกเบี้ยสุทธิ (Net interest)

หมายถึงดอกเบี้ยที่เอกชนได้รับจากองค์การ ธุรกิจและสถาบันการเงินต่างๆ

2.4 กำไรหรือรายได้ของกิจการที่ไม่อยู่ในรูปบริษัท

ได้แก่ การประกอบอาชีพอิสระ ห้างหุ้นส่วน

2.5 กำไรของบริษัท (Corporate profit)

หมายถึง กำไรของบริษัทก่อนหักภาษี แบ่งเป็นสามส่วนคือเงินปันผล กำไรที่ยังไม่ได้จัดสรรหรือยังมิได้แบ่งให้แก่ผู้ถือหุ้น และภาษีเงินได้ของบริษัท

2.6 ค่าเสื่อมราคา

เช่น อาคารโรงงาน ละเครื่องจักรที่ผลิตสินค้าราคานั้น จะเกิดการศึกหรอเมื่อมีอายุการใช้งานมากขึ้น ซึ่งเรียกว่าการเสื่อมค่า
3. รายได้ของรัฐบาล

ประกอบด้วยค่าเช่าทรัพย์สิน รายได้จากรัฐวิสาหกิจและภาษีทางอ้อม ธุกิจที่เก็บจากสินค้า เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีการขาย ภาษี ศุลกากร ภาษีการค้า
4. การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่าย

แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

4.1 รายจ่ายในการอุปโภคบริโภคของเอกชน หมายถึงรายจ่ายทั้งหมดของเอกชน

4.2 รายจ่ายในการลงทุนทั้งสิ้นของเอกชนภายในประเทศ

แบ่งเป็น 3 ส่วนย่อยดังนี้

4.2.1 รายจ่ายในการก่อสร้างใหม่

4.2.2 รายจ่ายในการชื่อเครื่องจักรอุปกรต่างๆที่ผลิตขึ้นใหม่

4.2.3 ส่วนเปลี่ยนของสินค้าคงเหลือ
5. รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการขิงรัฐบาล หมายถึง รายจ่ายของรัฐบาล และองค์กรในการซื้อสินค้าและบริการซึ่งประกอบด้วย เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง
6. การส่งออกสุทธิ หมายถึง ผลต่างของรายได้ของการส่งออกสินค้า


ปัญหาการคํานวณและการใช้ข้อมูลรายได้ประชาชาติ
รายได้ประชาชาติ และผลิตภัณฑ์ประชาชาติ
ในการผลิตสินค้าและบริการ หน่วยธุรกิจจะจ่ายค่าตอบแทนซึ่งได้แก่ ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไรให้ผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต รายจ่ายเหล่านี้ประกอบเป็นต้นทุนของสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศในระยะเวลาหนึ่ง ในขณะเดียวกันรายจ่ายของหน่วยธุรกิจดังกล่าวก็คือ รายได้ของเจ้าปัจจัยการผลิตนั่นเอง เจ้าของปัจจัยการผลิตในฐานะที่เป็นผู้อุปโภคบริโภคจะกลับใช้จ่ายเงินได้เหล่านั้น เพื่อซื้อสินค้าและบริการจากหน่วยธุรกิจเพื่อการอุปโภคบริโภค และรายจ่ายของผู้บริโภคบริโภคจะกลับเป็นรายได้ของหน่วยธุรกิจ ดังนั้นรายได้ทั้งสิ้นจึงเท่ากับผลรวมของมูลค่าของสินค้าและบริการทั้งสิ้นและเท่ากับรายจ่ายทั้งสิ้นเพื่อเป็นค่าสินค้าและบริการและรายได้ประชาชาติ (National Income) จึงเท่ากับมูลค่ารวมทั้งสิ้นของผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (National Product)
รายได้ประชาชาติ คือ มูลค่ารวมสุทธิของสินค้าและบริการ (Net value of all Goods and Services) ที่ผลิตขึ้นในประเทศในระยะเวลาหนึ่ง (ตามปกติ 1 ปี) และผลิตภัณฑ์ประชาชาติก็คือ มูลค่าสุทธิของสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศนั่นเอง เมื่อกล่าวว่ารายได้ประชาชาติเท่ากับผลิตภัณฑ์ประชาชาติ เราหมายความว่ามูลค่าของรายได้ประชาชาติเท่ากับผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (Net National Product)
การวัดรายได้ประชาชาติ
วัดรายได้ประชาชาติหรือคำนวณได้ 3 วิธี คือ
1.คำนวณทางด้านผลผลิต (Production Approach) การคำนวณตามวิธีนี้เป็นการคำนวณหาผลรวมของมูลค่าผลิตผลทั้งสิ้น
2.คำนวณทางด้านรายได้ (Income Approach) วิธีคำนวณตามวิธีที่นี้ คือ คำนวณหาผลรวมของรายได้ที่เกิดจากผลิตผลซึ่งได้แก่ผลรวมของค่าจ้าง ดอกเบี้ย ค่าเช่าและกำไร
3.คำนวณทางด้านรายจ่าย (Expenditure Approach) การคำนวณตามวิธีที่นี้เป็นการคำนวณหาผลรวมของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและรายจ่ายเพื่อการลงทุนทั้งสิ้น
การคำนวณทั้ง 3 วิธีนี้จะได้ตัวเลขรายได้ประชาชาติเท่ากัน ทั้งนี้เพราะเป็นการพิจารณาเรื่องเดียวกัน แต่มองจากด้านต่างๆ คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านรายได้และด้านรายจ่าย ดังจะเห็นได้จากวิธีการคำนวณต่อไปนี้
1.วิธีคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านผลผลิต การคำนวณรายได้ประชาชาติตามวิธีนี้ เป็นการคำนวณหาผลรวมของมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Goods and Services) ที่ผลิตขึ้นในประเทศในระยะเวลาหนึ่ง โดยคิดมูลค่าเป็นเงินตามราคาตลาดของสินค้าและบริการเหล่านั้น การคำนวณตามวิธีนี้ จึงเป็นการคำนวณหามูลค่าของกิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจของประเทศ
การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านผลผลิต มีปัญหาที่ต้องพิจารณา ดังนี้ คือ
1.จะรวมมูลค่าของสินค้าและบริการอะไรบ้าง
2.สินค้าและบริการเหล่านั้นต้องมีการซื้อขายในตลาดหรือไม่
3.สินค้าและบริการขั้นสุดท้ายหรือผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย (Final Product) มีความหมายเพียงใด
4.จะหลีกเลี่ยงการคำนวณมูลค่าของสินค้าและบริการชนิดเดียวกันเกินกว่า 1 ครั้ง อย่างไร
สินค้าและบริการที่จะรวมอยู่ในผลิตภัณฑ์ประชาชาตินั้น จะต้องรวมเฉพาะมูลค่าของสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่รวมสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในระยะเวลาล่วงมาแล้ว แม้จะมีการซื้อขายกันในระยะเวลาปัจจุบัน การซื้อขายดังกล่าวเป็นแต่เพียงกันเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิในสินค้าที่ผลิตขึ้นในปีที่แล้วมา และสินค้าเหล่านั้นได้รวมอยู่ในรายได้ประชาชาติของปีที่ล่วงมาแล้ว สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นทั้งสิ้นในประเทศเกือบทุกประเภทจะรวมอยู่ในรายได้ประชาชาติ มีข้อยกเว้นบางประการเท่านั้น คือ สินค้าที่ผู้อุปโภคบริโภคผลิตเพื่อการอุปโภคบริโภคภายในครอบครัว อย่างไรก็ตามในการคำนวณรายได้ประชาชาติของประเทศต่างๆ มักจะยอมรับกันว่าสินค้าและบริการบางอย่าง แม้จะมิได้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนในตลาดก็คำนวณรวมอยู่ในรายได้ประชาชาติด้วย
การคำนวณหาผลรวมของผลิตภัณฑ์ประชาชาติโดยปกติใช้มูลค่าผลิตผลขึ้นสุดท้าย (Final Product) ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการคำนวณมูลค่าสินค้าและบริการเกินกว่า 1 ครั้ง ถ้าเราเพียงแต่บวกยอดรวมการขายสินค้าและบริการของธุรกิจและรัฐบาลทั้งสินเข้าด้วยกันแล้ว ย่อมจะได้ตัวเลขมูลค่าของสินค้าและบริการเป็นจำนวนมากกว่าปกติ เพราะจะมีการรวมมูลค่าของสินค้าชนิดเดียวกันทุกระดับของการผลิตเข้าด้วยกัน กล่าวคือ รวมมูลค่าของผลิตผลระหว่างกลาง (Intermediate Product) ทุกระดับของการผลิต ซึ่งเป็นการคำนวณมูลค่าของสินค้าและบริการชนิดเดียวกันมากกว่า 1 ครั้ง (Double Counting) ตัวอย่างเช่นการคิดมูลค่าของข้าวตามหลักการแล้วเราจะต้องคิดมูลค่าของข้าวสารที่ผู้อุปโภคบริโภคซื้อจากพ่อค้าขายปลีกเท่านั้น เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย แต่ถ้าคำนวณมูลค่าของข้าวโดยการรวมมูลค่าของข้าวเปลือกที่ชาวนาขายให้แก่โรงสี ราคาข้าวสารที่โรงสีขายให้แก่ผู้ขายส่ง ราคาที่ผู้ขายส่งขายให้แก่พ่อค้าขายปลีก และราคาที่พ่อค้าขายปลีกขายให้ประชาชนผู้บริโภคแล้ว เราจะได้มูลค่าของข้าวที่สูงกว่าความเป็นจริงมากเพราะมีการรวมมูลค่าของผลิตภัณฑ์ระหว่างกลางด้วย ตามตัวอย่างนี้ ถ้าราคาข้าวสารขายปลีกกระสอบละ 210 บาท ราคาของข้าวสารเท่านั้นที่จะรวมในผลิตภัณฑ์ประชาชาติ
นอกจากใช้วิธีคำนวณหาผลรวมของผลิตภัณฑ์ขึ้นสุดท้ายเพื่อหลีกเลี่ยงการคำนวณมูลค่าของสินค้าและบริการซ้ำแล้ว อาจใช้วิธีหาค่าเพิ่ม (Value Added) ในระดับหรือขั้นต่างๆ ของการผลิต เพราะผลรวมของมูลค่าเพิ่มประกอบเป็นมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย การคำนวณตามวิธีนี้จะได้ผลเท่ากัน คำว่า
“ค่าเพิ่ม”
ของสินค้าและบริการ คือ ค่าจ้าง ดอกเบี้ย ค่าเช่า และกำไร อันประกอบเป็นต้นทุนการผลิตนั่นเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น