การวิเคราะห์เรื่องต้นทุนการผลิตมีรากฐานมาจากการวิเคราะห์เรื่องการผลิต
ทั้งนี้เพราะในการผลิตสินค้า
ผู้ผลิตได้รวบรวมปัจจัยการผลิตจากเจ้าของปัจจัยการผลิตมาใช้ในการผลิต
ดังนั้น จึงต้องจ่ายค่าผลตอบแทนให้เจ้าของปัจจัยการผลิตนั้นๆ ในรูปของค่าเช่า
ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และกำไร
ซึ่งค่าใช้จ่ายๆต่างๆที่จ่ายให้กับเจ้าของปัจจัยการผลิตรวมเรียกว่า ต้นทุนการผลิต
ต้นทุนการผลิต
(Cost
of Production)
ต้นทุนการผลิต (Cost
of Production) หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้าและบริการในจำนวนที่ต้องการ ต้นทุนการผลิตสามารถจำแนกได้หลายแบบ
ดังนี้
ต้นทุนที่เห็นได้ชัด
(Explicit
Cost) และต้นทุนโดยปริยาย (Implicit Cost)
ต้นทุนที่เห็นได้ชัด (Explicit Cost) หมายถึง ต้นทุนที่จ่ายออกไปจริงสามารถบันทึกลงในบัญชีได้
เช่น ค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบ ค่าโฆษณา เป็นต้น
ต้นทุนโดยปริยาย
(Implicit Cost) หมายถึง ต้นทุนที่ไม่ได้จ่ายออกไปเป็นเงินจริงแต่เป็นค่าเสียโอกาสที่จะใช้ปัจจัยการผลิตไปทำประโยชน์อื่น
เรียกว่า “ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost)” เช่น ค่าจ้างตัวเอง หรือค่าเช่าอาคารของตนเอง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นต้นทุนการผลิตเพราะเจ้าของปัจจัยการผลิตเสียโอกาสได้รับผลตอบแทน
ต้นทุนทางบัญชี
(Accounting
Cost) และต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ (Economics Cost)
ต้นทุนทางบัญชี (Accounting Cost) หมายถึง
ต้นทุนที่จ่ายออกไปจริงและจดบันทึก
ลงบัญชีไว้
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
(Economics
Cost) หมายถึง
ต้นทุนทุกอย่างที่เกิดขึ้นในการผลิต
ไม่ว่าจะจ่ายออกไปจริงหรือไม่ก็ตาม
ด้วยเหตุนี้ ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จึงสูงกว่าต้นทุนทางบัญชี ทำให้กำไรทางเศรษฐศาสตร์น้อยกว่ากำไรทางบัญชี
ต้นทุนกับระยะเวลา
(Cost
and Time Period)
การผลิตในระยะสั้น
(Short – Run Period) เป็นการผลิตในระยะเวลาที่ประกอบด้วยปัจจัยคงที่
(Fixed Factors) และปัจจัยผันแปร (Variable Factors) ต้นทุนการผลิตในระยะสั้นจึงประกอบด้วยต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร โดยต้นทุนคงที่จะไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนผลผลิต
ส่วนต้นทุนผันแปรจะเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนผลผลิต
การผลิตในระยะยาว (Long – Run Period) เป็นการผลิตในระยะเวลาที่ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตทุกชนิดได้ตามต้องการ
ดังนั้น การผลิตในระยะยาวปัจจัยการผลิตทุกชนิดจะเป็นปัจจัยผันแปร ต้นทุนการผลิตในระยะยาวจะประกอบด้วยต้นทุนผันแปรเพียงอย่างเดียว
การวิเคราะห์ต้นทุนในระยะสั้น (The Short – Run Cost
Analysis)
การผลิตในระยะสั้นใช้ปัจจัยการผลิต
2 ชนิดคือ ปัจจัยคงที่ และปัจจัยผันแปร ดังนั้น
ต้นทุนการผลิตในระยะสั้นจึงมี 2 ชนิดคือ ต้นทุนคงที่
(Fixed Cost) และต้นทุนผันแปร (Variable Cost) สามารถคำนวณหาต้นทุนชนิดต่างๆ ได้ดังนี้
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost : FC) ต้นทุนชนิดนี้จะมีจำนวนคงที่ตลอดไม่ว่าปริมาณการผลิตจะมากหรือน้อย
แม้จะไม่ทำการผลิตเลยก็จะเกิดต้นทุนคงที่ ต้นทุนประเภทนี้ เช่น ค่าเสื่อมของเครื่องจักร
เป็นต้น
ต้นทุนผันแปร (Variable Cost : VC) ต้นทุนนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนสินค้าที่ผลิต
ถ้าผลิตมากจะเสียต้นทุนชนิดนี้มาก และถ้าไม่ผลิตก็ไม่เสียเลย ต้นทุนประเภทนี้ เช่น
ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น
ต้นทุนรวม (Total Cost : TC) เป็นต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการใช้ปัจจัยการผลิตชนิดต่างๆ
ในการผลิตสินค้าและบริการจำนวนหนึ่ง ในระยะสั้น ต้นทุนรวมสามารถแสดงได้ดังนี้
TC = TFC + TVC
ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนผันแปรเฉลี่ยกับต้นทุนเพิ่มและต้นทุนเพิ่มกับต้นทุนเฉลี่ย
ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนผันแปรเฉลี่ย
(AVC) กับต้นทุนเพิ่ม (MC)
1. ตราบที่ MC มีค่าน้อยกว่า AVC , AVC
จะมีค่าลดลงเมื่อผู้ผลิตขยายการผลิตออกไป
2. ตราบที่ MC
มีค่ามากกว่า AVC , AVC จะมีค่าสูงขึ้นเมื่อผู้ผลิตขยายการผลิตออกไป
3. MC จะมีค่าเท่ากับ
AVC ณ จุดที่ AVC มีค่าต่ำสุด
ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนเพิ่ม
(MC) กับต้นทุนเฉลี่ย (AC)
1. ตราบที่ MC มีค่าน้อยกว่า AC
, AC จะมีค่าลดลงเมื่อผู้ผลิตขยายการผลิตออกไป
2. ตราบที่ MC มีค่ามากกว่า AC
, AC จะมีค่าสูงขึ้นเมื่อผู้ผลิตขยายการผลิตออกไป
3. MC จะมีค่าเท่ากับ AC ณ
จุดที่ AC มีค่าต่ำสุด
การวิเคราะห์ต้นทุนในระยะยาว (Long – Run Cost
Analysis)
ในระยะยาวผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงขนาดการผลิตให้เหมาะสมกับที่ต้องการได้
ปัจจัยทุกชนิดที่ใช้ในการผลิตเป็นปัจจัยผันแปร ดังนั้น ต้นทุนการผลิตในระยะยาวจึงมีเฉพาะแต่ต้นทุนผันแปรเท่านั้น
ต้นทุนเฉลี่ยในระยะยาว
(Long-Run Average Cost)
ในระยะยาวผู้ผลิตสามารถปรับปรุงขนาดของโรงงานให้เหมาะสมกับระดับผลผลิตได้
ดังนั้น จึงสามารถเลือกขนาดของโรงงานที่เสียต้นทุนเฉลี่ยต่ำสุดโดยใช้วิธีการสร้างโรงงานใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิมหรือสร้างเพิ่มเติมจากโรงงานเดิม
รายรับจากการผลิต (Revenues)
การที่ผู้ผลิตจะเปลี่ยนแปลงการผลิตหรือไม่นั้นจะพิจารณาจากผลการดำเนินการ
ถ้าผลการดำเนินการได้รับกำไรก็จะขยายการผลิต ผลการดำเนินการเป็นการเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนและรายรับจากการผลิต
รายรับจากการผลิต (Revenues) คือ
รายได้ที่ผู้ผลิตได้รับจากการขายผลผลิตในราคาที่กำหนด ซึ่งถ้าราคาสินค้าสูงขึ้นจำนวนสินค้าที่ขายได้มีปริมาณลดลง
รายได้จากการผลิตจะลดลงด้วย และเนื่องจากราคาของสินค้าในแต่ละระดับคือ รายรับของผู้ผลิตจากการขายสินค้านั้นๆ
ดังนั้น ราคาต่อหน่วยสินค้า ณ ระดับการขายจะเท่ากับรายรับเฉลี่ย (Average
Revenue : AR) ของผู้ผลิต ณ ระดับการขายนั่นเอง
รายรับรวม รายรับเฉลี่ย และรายรับเพิ่ม
รายรับรวม
(Total Revenue : TR) หมายถึง รายรับทั้งหมดที่ผู้ผลิตได้รับจากการขายสินค้า
รายรับรวมหาได้จาก
TR = PxQ
โดยที่ : P
= ราคาสินค้าต่อหน่วย
Q = ปริมาณสินค้าที่ขายได้
รายรับเฉลี่ย (Average Revenues :
AR)
หมายถึง รายรับรวมเฉลี่ยต่อจำนวนสินค้าทั้งหมดที่ขายได้ รายรับเฉลี่ยหาได้จาก
รายรับเพิ่ม (Marginal Revenue :MR) หมายถึง
รายรับรวมที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อขายสินค้าเปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย
รายรับเพิ่มหาได้จาก
ความสัมพันธ์ระหว่างรายรับรวม
รายรับเฉลี่ย และรายรับเพิ่ม
ความสัมพันธ์ระหว่างรายรับรวม (TR) รายรับเฉลี่ย (AR)
และรายรับเพิ่ม (MR) สามารถสรุปได้ดังนี้
1. รายรับเฉลี่ยจะมีค่าลดลงเมื่อขายสินค้าได้เพิ่มขึ้นและมีค่ามากกว่ารายรับเพิ่มเสมอไม่ว่าจะ
ขายสินค้าได้จำนวนเท่าใด
2. ในขณะที่รายรับเพิ่มมีค่าเป็นบวก
รายรับรวมจะเพิ่มขึ้นเมื่อขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น
3. เมื่อรายรับเพิ่มมีค่าเป็นศูนย์
รายรับรวมจะมีค่าสูงสุด
4. เมื่อรายรับเพิ่มมีค่าเป็นลบ
รายรับรวมจะมีค่าลดลงเมื่อขายสินค้าเพิ่มขึ้น
5. ในขณะที่รายรับรวมมีค่าเพิ่มขึ้น
รายรับเฉลี่ยและรายรับเพิ่มจะมีค่าลดลง
ต้นทุน รายรับ และกำไรสูงสุด
กำไร (Profit) หมายถึง
ผลต่างระหว่างต้นทุนการผลิตทั้งหมด (Total Cost) กับรายรับจากการขายผลผลิตทั้งหมด
(Total Revenue) เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
p=TR - TC
โดยที่
:p = กำไร
TR = รายรับจากการขายผลผลิตทั้งหมด (Total Revenue)
TC = ต้นทุนจากการผลิตทั้งหมด (Total Cost)
ต้นทุนในทางเศรษฐศาสตร์จะคำนวณจากรายจ่ายทั้งที่ได้จ่ายจริงและไม่จ่ายจริง
หรือรวมต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ไว้ด้วยจึงสูงกว่าต้นทุนทางบัญชี
หรือในทางเศรษฐศาสตร์ได้รวมกำไรปกติ (Normal Profit) ไว้ในต้นทุนการผลิตด้วย
ดังนั้น สามารถสรุปความสัมพันธ์ของรายรับรวม (TR) และต้นทุนรวม
(TC) ได้ดังนี้
- ถ้ารายรับรวม (TR) มีค่าเท่ากับต้นทุนรวม (TC)
ผู้ผลิตจะได้รับกำไรปกติ (Normal Profit)
- ถ้ารายรับรวม
(TR) มีค่ามากกว่าต้นทุนรวม (TC) ผู้ผลิตจะได้รับกำไรเกินปกติหรือกำไรส่วนเกิน
(Excess Profit)
ในการผลิตทั่วไป ผู้ผลิตย่อมต้องการได้รับกำไรสูงสุด
(Maximized
Profit) จากการผลิต การที่จะได้รับกำไรสูงสุดจากการผลิตมีวิธีพิจารณา
2 วิธี คือ
1. เปรียบเทียบระหว่างค่ารายรับรวม
(TR) และค่าต้นทุนรวม (TC) ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการผลิต
ปริมาณการผลิตที่จะให้กำไรสูงสุดคือ ปริมาณการผลิตที่ทำให้ค่ารายรับรวม (TR)
มากกว่าค่าต้นทุนรวม (TC) มากที่สุด
2. เปรียบเทียบจากค่ารายรับเพิ่ม
(MR) และค่าต้นทุนเพิ่ม (MC) โดยตราบใดที่รายรับเพิ่ม
(MR) มากกว่าต้นทุนเพิ่ม (MC) ผู้ผลิตจะสามารถขยายการผลิตออกไปได้จนถึงจุดที่มีค่าเท่ากันเพราะจะได้รับกำไรเพิ่มขึ้นจากการขยายการผลิตนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น