หน่วยที่ 5 ทฤษฎีการผลิต

ความหมายและลักษณะการผลิต
  • การผลิต (Production)
    การผลิต หมายถึง การนำเอาปัจจัยการผลิตอันได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน และความสามารถในการประกอบการมาผ่านกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่งภาย
    ใต้เทคโนโลยีระดับหนึ่ง ผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การผลิต เป็นกระบวนการเพิ่มคุณค่าหรือประโยชน์
    ทางเศรษฐกิจ (economic utility) ให้กับปัจจัยการผลิตต่างๆ เ พื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ตัวอย่างของการผลิต ได้แก่ การนำข้าวเปลือกมาผ่านกระบวนการสีเป็นข้าวสาร การเอาด้ายมาทอ
    เป็นผ้าผืน การให้บริการทางการแพทย์ การศึกษา การขนส่ง ฯลฯ
    จากที่กล่าวมาแล้ว การผลิตจะต้องประกอบไปด้วยการทำให้เกิดสินค้าหรือ
    บริการอย่างใด อย่างหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า อรรถประโยชน์ โดยอาศัยแรงงานของมนุษย์ ทั้งกำลังกายและกำลังความคิด แรงงานของสัตว์ หรือเครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ

    ฟังก์ชันการผลิต (Production Function)

    ฟังก์ชันการผลิต (Production function) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตที่ใส่เข้าไปในการ ผลิตกับผลผลิตที่ได้รับจากปัจจัยการผลิตนั้นๆในช่วงระยะเวลา หนึ่ง สมการการผลิต Y = f ( X1 , X2 , X3 , …… , Xn ) Y = จานวนผลผลิตทั้งหมด X1 , X2 , X3 , ….. Xn คือปัจจัยการผลิตต่างๆที่ใช้ในการผลิต
    หากต้องการหาฟังก์ชันการผลิตโดยใช้ปัจจัยการผลิต อย่างเดียวต้องกาหนดให้ปัจจัยตัวอื่นคงที่ หากใช้ปัจจัยการผลิต 2 ตัว เขียนฟังก์ชัน ดังนี้ )
     ,...., ( 32 1 nXXX X fY ) ,... , ( 3 21 nXX XX fY
    ฟังก์ชันการผลิตเป็นเครื่องมือแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยการผลิตกับผลผลิต เพื่อวัดปริมาณการ ใช้ปัจจัยการผลิต ให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด จานวนผลผลิตรวมจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
    1. จานวนปัจจัยการผลิตที่ใส่เข้าไป 
    2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต 
    3. ประสิทธิภาพของการบริหารงาน 
    4. การขยายขนาดการผลิตในระยะยาว


    วิดีโอ YouTube

    ความหมายของการผลิตระยะสั้นและระยะยาว
    ในทางเศรษฐศาสตร์แบ่งระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตออกเป็น 2 ระยะ คือ

    1. ระยะสั้น (short run) หมายถึงระยะเวลาซึ่งผู้ผลิตไม่สามารถจะเพิ่มหรือลดปัจจัยการผลิต
    คงที่ได้ จะเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะปัจจัยผันแปรเท่านั้น ผู้ผลิตจะต้องป้อนปัจจัยผันแปรให้พอเหมาะเต็มกำลังของปัจจัยคงที่ที่มีอยู่เพื่อให้ต้น
    ทุนการผลิตต่ำที่สุด เพื่อผู้ผลิตจะได้รับกำไรสูงสุด

    2. ระยะยาว (long run) หมายถึงระยะเวลาที่ปัจจัยการผลิตทุกประเภทสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ ปัจจัยการผลิตซึ่งเคยเป็นปัจจัยคงที่ในระยะสั้นสำหรับในระยะยาวแล้วปัจจัยเหล่านี้ จะสามารถแปรเปลี่ยนไปได้ นั่นคือ ในระยะยาวปัจจัยทุกประเภทจะเป็นปัจจัยผันแปรทั้งหมด
    จากที่กล่าวมา เราไม่สามารถจะชี้ชัดลงไปได้ว่าระยะเวลานานเท่าใดจึงจะเป็นการผลิตในระยะสั้น หรือระยะเวลานานเท่าไรจึงจะเป็นการผลิตในระยะยาว ดังนั้นการแบ่งระยะเวลาที่ใช้ในการผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์จึงไม่ได้ใช้ระยะเวลาเป็นเกณฑ์ หลักเกณฑ์ที่ใช้ก็คือประเภทของปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิต กล่าวคือ ถ้าการผลิตดังกล่าวมีปัจจัยบางประเภทเป็นปัจจัยคงที่ การผลิตนั้นก็จะเป็นการผลิตในระยะสั้น แต่ถ้าปัจจัยการผลิตนั้นเป็นปัจจัยผันแปรทั้งหมด การผลิตนั้นก็จะเป็นการผลิต ในระยะยาว เนื่องจากในระยะสั้นมีทั้งปัจจัยคงที่และปัจจัยผันแปร ดังนั้นต้นทุนการผลิตก็จะมีทั้งต้นทุน คงที่และต้นทุนผันแปร ส่วนในระยะยาวก็จะมีแต่ต้นทุนผันแปร เนื่องจากมีแต่ปัจจัยผันแปรเท่านั้น
    ปัจจัยการผลิต
    ปัจจัยการผลิต (factors of production) หมายถึง สิ่งต่างๆที่ผู้ผลิตนำมาผ่านกระบวนการผลิต ขึ้นเป็นสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในทางเศรษฐศาสตร์เราแบ่งปัจจัยการผลิตออกเป็น 4 ชนิด คือ

    ที่ดิน (land) ซึ่งรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภท ได้แก่ ที่ดิน ป่าไม้ น้ำ แร่ธาตุ ฯลฯ ทั้งที่อยู่บนดินและอยู่ใต้ดิน ที่ดินมีลักษณะที่ต่างไปจากปัจจัยการผลิตอื่นๆ คือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เคลื่อนย้ายไม่ได้ มีปริมาณจำกัด

    แรงงาน (labor) หรือทรัพยากรมนุษย์ หมายถึงผู้ที่ทำงานให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยอาศัยทั้งกำลังแรงกายและกำลังความคิด แต่ไม่รวมในด้าน ของความสามารถในการประกอบการของแต่ละบุคคล ในทางเศรษฐศาสตร์ การใช้แรงงานจะต้องเป็น การใช้แรงงานที่ได้รับค่าตอบแทนเป็นตัวเงินหรือสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ส่วนแรงงานที่ไม่ได้รับผลตอบแทนจะไม่ถือว่าเป็นแรงงานตามความหมายนี้ แรงงานหรือที่นิยมเรียกกันว่า กำลังแรงงาน (labor force) ในอีกความหมายหนึ่งก็คือกลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงานที่มีอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไป ซึ่งพร้อม และเต็มใจที่จะทำงานไม่ว่าจะมีงานให้ทำหรือไม่ก็ตาม แบ่งออกเป็น แรงงานที่มีทักษะ (skilled labor) ซึ่งเป็นแรงงานที่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาเป็นอย่างดี เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ฯลฯ กับ แรงงานที่ไม่มีทักษะ (unskilled labor) ซึ่งเป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาก่อน ส่วนใหญ่เป็นแรงงาน ที่ใช้กำลังกายเป็นหลัก เช่น กรรมกรแบกหาม คนงานรับจ้างทั่วไป ฯลฯ

    ทุน (capital) คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ หรือทุนคือการสะสมสินค้าในรูปของเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์การผลิตต่างๆ ทุนในทางเศรษฐศาสตร์จะหมายถึงสินค้าประเภททุน ซึ่งจัดเป็นทุนที่แท้จริง (real capital) โดยไม่นับรวมเงินทุนซึ่งเป็นทุนที่เป็นตัวเงิน (money capital) เข้าไว้ในความหมายดังกล่าว โดยทั่วไปทุนแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

    1. ทุนถาวร (fixed capital) คืออุปกรณ์การผลิต เครื่องจักร เครื่องมือที่มีความคงทน ถาวร มีอายุการใช้งานยาวนาน เช่น โรงงาน ถนน สะพาน ทางรถไฟ เป็นต้น

    2. ทุนดำเนินงาน (working capital) คือทุนประเภทวัตถุดิบต่างๆซึ่งมีอายุการใช้งาน ค่อนข้างสั้น เป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป ต้องหามาทดแทนใหม่อยู่ตลอดเวลา เช่น น้ำมัน ไม้ ยาง เหล็ก เป็นต้น บางครั้งเรียกทุนประเภทนี้ว่าทุนหมุนเวียน (circulating capital)

    3. ทุนสังคม (social capital) เป็นทุนที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการผลิตโดยตรง เป็นตัว ช่วยเสริมให้การใช้ทุนทั้งสองประเภทข้างต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
    สวนสาธารณะ โรงเรียน โรงพยาบาล สนามกีฬา สระว่ายน้ำ เหล่านี้ล้วนเป็นทุนของประเทศโดยส่วนรวม มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยอ้อม คือ ช่วยให้ความรู้ การรักษาสุขภาพอนามัย การพัฒนาในเรื่องของคุณภาพชีวิตของบุคคลที่อยู่ในสังคม
    ความสามารถในการประกอบการ (entrepreneurship) หมายถึงความสามารถในการดำเนินการวางแผน จัดการทางด้านธุรกิจการผลิตภายใต้ความเสี่ยงในระดับต่างๆ ผู้ประกอบการ (entrepreneur) จะเป็นผู้รวบรวมปัจจัยการผลิตต่างๆเพื่อทำการผลิตขึ้นเป็นสินค้าหรือบริการ และเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจว่าจะผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร

    วิดีโอ YouTube

    ลักษณะและความสัมพัธ์ของผลผลิตแบบต่างๆ
    ผลผลิตรวม (Total Product : TP)
    ผลผลิตรวมจากการใช้ปัจจัยที่ไม่ได้สัดส่วนกัน เราจะศึกษาว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ปัจจัย ผันแปรชนิดหนึ่งๆ (ใช้ปัจจัยผันแปรชนิดเดียวคือ L) โดยที่ ปัจจัยชนิดอื่นคงที่แล้ว จะทาให้ผลผลิตที่ได้เปลี่ยนไปอย่างไร หากกาหนดให้ การผลิต สินค้าชนิดหนึ่ง(Q) ใช้ปัจจัยการ ผลิต 2 ชนิดได้แก่ ที่ดิน (K) กาหนดให้เป็น ปัจจัยคงที่ (fixed input) และ แรงงาน (L) กาหนดให้เป็น ปัจจัยผันแปร (variable input)

    2. ผลผลิตเฉลี่ย (Average Product : AP)
    หมายถึงปริมาณผลิตโดยเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากการใช้ปัจจัยในการผลิตที่เพิ่มขึ้นในปริมาณต่างๆ ที่ โดยหาได้จาก การนำปริมาณผลผลิตรวมหารด้วย จำนวนปัจจัยการผลิตที่เป็นปัจจัยผันแปรผันทั้งหมดที่ใช้

    3. ผลผลิตเพิ่ม (Marginal Product : MP) หมายถึงปริมาณผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการใช้ปัจจัยแปรผันเพิ่มขึ้น 1 หน่วย ซึ่งหาได้จาก
    ปริมาณการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตรวมในแต่ละขั้น หารด้วย ปริมาณการเปลี่ยนแปลงของการใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นปัจจัยแปรผัน หรือ ปริมาณผลผลิตทั้งหมด ณ ปัจจุบัน ลบด้วย ปริมาณผลผลิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นก่อนหน้า

    4. ความสัมพัธ์ระหว่างผลผลิตเฉลี่ยและผลผลิตเพิ่ม
    1. AP จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตราบใดเมื่อ MP > AP
    2. AP จะเริ่มลดลงเมื่อ MP น้อยกว่า AP
    3. AP มีค่าสูงสุดเมื่อ AP = MP

    การแบ่งช่วงการผลิต

    แบ่งช่วงของการผลิตออกได้เป็น 3 ช่วงด้วยกัน คือ

    ช่วงที่ 1 เป็นการเริ่มแรกของปัจจัยแปรผันที่เพิ่มขึ้นทีละหนึ่งหน่วย ซึ่งในการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในช่วงนี้ผลผลิตโดยรวมนั้นจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องมาจากการปัจจัยที่ใช้ในการผลิตคือ ปัจจัยคงที่ และปัจจัยแปรผันนั้นยังคงที่จะได้สัดส่วน หรือมีความสมดุลย์กัน โดยเราเรียกช่วงนี้ว่า (Increasing Return)

    ช่วงที่ 2 เป็นจุดต่อจากช่วงปลายของช่วงที่ 1 ซึ่งเราเรียกกันว่า จุดเปลี่ยนโค้ง ซึ่งในการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในระยะนี้จะมีการเพิ่มขึ้นอย่างช้า ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเกิดความไม่สมดุลย์กันระหว่างการใช้ปัจจัยคงที่ และปัจจัยแปรผัน และผลผลิตนั้นก็จะเพิ่มขึ้นอย่างเรื่อยๆ ไปจนถึงจุดที่สูงสุด โดยเราเรียกช่วงนี้ว่า (Diminishing Return)

    ช่วงที่ 3 เป็นจุดที่ต่อจากช่วงปลายของช่วงที่ 2 ซึ่งเป็นจุดที่ต่อจากจุดสูงสุด โดยผลผลิตที่เกิดขึ้นในช่วงนี้จะเริ่มมีปริมาณที่ลดลง ทั้งนี้เนื่องมาจากเกิดความไม่สมดุลย์กันระหว่างการใช้ปัจจัยคงที่ และปัจจัยแปรผัน ที่เกินข้อจำกัดของเทคนิคที่ใช้ในการผลิต ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตที่เกิดขึ้นนั้นมีปริมาณที่ลดลง โดยเราเรียกช่วงนี้ว่า (Decreasing Return)

    ทฤษฎีการผลิตระยะยาว
    ช่วงเวลาที่ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณของปัจจัยการผลิตทุกอย่างให้มีจำนวนตามที่ต้องการได้ หรือกล่าวคือ เปลี่ยนจากปัจจัยคงที่ให้เป็นปัจจัยแปรผัน โดยกล่าวได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดของการผลิต (Scale of Production) เช่นโรงงานก็สามารถที่จะเปลี่ยนขนาดได้ ซึ่งในการผลิตในระยะยาวนี้จะไม่มีปัจจัยคงที่เหลืออยู่ โดยมีแค่ปัจจัยแปรผันเหลืออยู่เท่านั้น (Variable Factors)

    ดุลยภาพการผลิต
    หมายถึง ภาวะที่เกิดจากราคามีความเหมาะสม ทำให้ปริมาณความต้องการซื้อ เท่ากับปริมาณความต้องการขาย ทำให้สินค้าหมดพอดี หรือมีหลักการดังนี้ คือ ราคาสินค้าจะวิ่งสู่ดุลยภาพเสมอ ถ้าราคาเปลี่ยนปริมาณที่ผู้บริโภคต้องการที่จะซื้อและที่ผู้ผลิตที่ต้องการขายก็จะเปลี่ยนตาม
    ถ้าร้าคาสินค้าแพงเกินไป ต่อไปต้องลดลง
    ถ้าราคาสินค้าถูกเกินไป ต่อไปต้องแพงขึ้น
    โดยกลไกราคา ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นจะมีข้อยกเว้นในการพิจารณา คือ ใช้ไม่ได้กับสินค้าที่เป็นทรัพย์เสรี และสินค้าที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของเก่า เช่น ถ้วยสังคโลก,รถเก่า,พระเครื่อง และวัตถุโบราณ หรือทรัพทย์เสรี ได้แก่ น้ำ ดิน เป็นต้นฯ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น