ความหมายของความยืดหยุ่น
เราไดศึกษาแล้วว่าปริมาณการเสนอซื้อ(Qd ) และปริมาณการเสนอขาย(QS ) ถูก กา หนดมาไดอ ้ ยา่ งไรและสามารถเปลี่ยนแปลงไปไดเ ้ มื่อปัจจยัที่มีอิทธิพลกา หนด Qd & QS มีการ เปลี่ยนแปลงอยา่ งไรกด ็ีเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป ปริมาณการเสนอซ้ือหรือปริมาณการเสนอ ขายในสินคา ้ แต่ละชนิดจะมีการเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากนั จึงไม่อาจจะนา เอามาเปรียบเทียบกนัไดว ้ า่ สินคา ้ใดมีปริมาณการเสนอซ้ือหรือปริมาณการเสนอขายที่เปลี่ยนแปลงไปมากกวา่ กนั เนื่องจากขนาด ของราคาและปริมาณ ตลอดจนหน่วยของสินคา ้ แตกต่างกนั แมว ้ า่ เราจะมีค่า slope ซ่ึงช้ีใหเห ็ นการ เปลี่ยนแปลงของP & Q กต ็ าม แต่จากปัญหาที่กล่าวมาจึงไม่สามารถนา ค่า slope มาวัดขนาดการ เปลี่ยนแปลงของ Qd & QS ของสินคา ้ แต่ละชนิดมาเปรียบเทียบกนัได ้เครื่องมือที่จะใช้วัดการ เปลี่ยนแปลงของ Qd & QS ในสินคา ้ แต่ละชนิดคือความยดืหยนุ่ (Elasticity) ซ่ึงใชว ้ ดัไดท ้ ้งัดา ้ นอุป สงค์และอุปทาน อันเป็ นแนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ชื่อ Alfred Marshall ความยดืหยนุ่ จะเป็ นการแสดงความสมั พนัธ์ระหวา่ งปรากฎการณ์2 อยา่ งวา่ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรและมีค่ามากนอ ้ ยเพียงไร ค่าความยดืหยนุ่ จะบอกวา่ ถ้าหากปรากฎการณ์ของเหตุมีการ เปลี่ยนแปลงไป 1% ปรากฎการณ์ของผลจะเปลี่ยนแปลงไปกี่%
สภาพดินฟ้าอากาศและฤดูกาล สภาพอากาศมีผลต่อปริมาณผลผลิตของสินค้าเกษตร เช่น หาก สภาพอากาศเอื้ออำนวย ผลผลิตการเกษตรที่ออกมาจะมีมาก นอกจากนี้ สินค้าเกษตรหลายชนิด
ออกเป็นฤดูกาล (Seasonality) ซึ่งจะมีผลต่ออุปทานสินค้าเกษตรในช่วงนั้นๆ เช่น ผลผลิตข้าวนาปี จะออกมามากในช่วงปลายปี เป็นต้น
จำนวนพื้นที่เพาะปลูก การเพิ่ม/ลดพื้นที่เพาะปลูกจะส่งผลต่อปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น/ลดลง
ผลผลิตต่อไร่ (Yield) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์พืช ช่วยให้สามารถผลิต สินค้าเกษตรได้เพิ่มขึ้น โดยใช้พื้นที่เท่าเดิม หรือมีต้นทุนต่ำลง
ราคาผลผลิตชนิดอื่น การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าชนิดหนึ่งอาจมีผลกระทบต่อปริมาณผลผลิต หรืออุปทานของสินค้าอีกชนิดหนึ่งได้ เช่น หากราคายางพาราสูงขึ้นมาก อาจจูงใจให้เกษตรกร ที่ปลูกสินค้าอื่น เช่น ข้าวโพด หันมาปลูกยางพาราแทน ส่งผลให้ผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตข้าวโพดลดลง เป็นต้น
เส้นอุปทานที่กล่าวมาแล้วเป็นความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการขายกับราคาของสินค้าหรือบริการนั้น โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆคงที่ หากเรานำปัจจัยตัวอื่นเข้ามาพิจารณา จะเห็นว่าปริมาณความต้องการขายสินค้าหรือปริมาณอุปทานมิได้ขึ้นอยู่กับราคาของสินค้าหรือบริการนั้นแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยตัวอื่นๆซึ่งได้แก่
- ต้นทุนการผลิต เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าปริมาณความต้องการเสนอขายหรืออุปทานจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางกลับกันกับต้นทุนการผลิตของผลผลิตหรือสินค้าหรือบริการนั้นๆ กล่าวคือ ภายใต้ต้นทุนการผลิตระดับหนึ่งถ้าต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของสินค้าหรือบริการสูงขึ้น ความสามารถในการเสนอขายหรืออุปทานจะมีปริมาณน้อยลง ถ้าต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลงปริมาณอุปทานจะมีมากขึ้น
- ราคาปัจจัยการผลิต เนื่องจากราคาปัจจัยการผลิตเป็นตัวกำหนดต้นทุนการผลิตของสินค้าหรือบริการ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของราคาปัจจัยการผลิตทำให้ต้นทุนการผลิตเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน เช่น ถ้าค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณความต้องการเสนอขายหรืออุปทานลดลงได้ และถ้ากลับกันก็จะให้ผลในทางตรงกันข้าม
- ราคาสินค้าชนิดอื่น การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าชนิดหนึ่งอาจมีผลกระทบต่อปริมาณความต้องการเสนอขายหรืออุปทานของสินค้าชนิดหนึ่งได้ เช่น ถ้าราคาส้มลดลง ชาวสวนอาจหันไปปลูกมะนาวแทน ทำให้ปริมาณความต้องการขายส้มลดลง ส่วนของมะนาวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตรายดังกล่าวคาดว่าตนจะได้รับกำไรเพิ่มขึ้นจากการปลูกมะนาวแทนส้ม
- เทคโนโลยีการผลิต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง เนื่องจากปัจจัยการผลิตจำนวนเท่าเดิมผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ปริมาณมากขึ้น นั่นคือ ความสามารถในการเสนอขายหรืออุปทานของสินค้าของผู้ผลิตมีเพิ่มขึ้น
- ภาษี จำนวนภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บจากการขายสินค้าและบริการเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดต้นทุนการผลิตของสินค้าและบริการ ถ้ารัฐบาลเก็บภาษีในอัตราสูงจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น ทำให้อุปทานลดลง แต่ถ้ารัฐบาลเก็บภาษีในอัตราลดลง ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าลดลง และอุปทานจะเพิ่มขึ้น
- การคาดการณ์ราคาสินค้าในอนาคต ถ้าผู้ผลิตคาดการณ์ว่าราคาสินค้าในอนาคตจะสูง ขึ้น ผู้ผลิตจะชะลอปริมาณการเสนอขายในปัจจุบันลง เพื่อจะเก็บไว้รอขายในอนาคต (อุปทานลดลง) ในทางกลับกัน ถ้าคาดการณ์ว่าราคาสินค้าในอนาคตจะลดลง ผู้ผลิตจะเพิ่มปริมาณการเสนอขายในปัจจุบันมากขึ้น (อุปทานเพิ่มขึ้น)
- สภาพดินฟ้าอากาศ ส่วนใหญ่จะมีอิทธิพลต่อผลผลิตทางการเกษตร ถ้าฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลผลผลิตก็จะมีมากและอุดมสมบูรณ์ แต่ถ้าสภาพดินฟ้าอากาศไม่ดีปริมาณผลผลิตก็จะมีน้อย
กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่ามีปัจจัยต่างๆมากมายที่เป็นตัวกำหนดหรือมีอิทธิพลต่อปริมาณความต้องการเสนอขายหรืออุปทานของสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวแต่เพียงเท่านี้
ความยืดหยุ่น (Elasticity) หมายถึง เป็นค่าที่ใช้วัดความมากน้อยของการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตามต่อการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรนำการพิจารณาค่าความยืดหยุ่นพิจารณาจากตัวเลข โดยการเปลี่ยนแปลงมีค่ามาก แสดงว่ามีความยืดหยุ่นมาก และการเปลี่ยนแปลงมีค่าน้อย แสดงว่ามีความยืดหยุ่นน้อย เครื่องหมายของความยืดหยุ่น แสดงถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรนำและตัวแปรตาม โดย เครื่องหมาย + แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน เครื่องหมาย - แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงข้ามกัน
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์
ความยืดหยุ่นเป็นค่าที่ชี้ให้เห็นว่าปริมาณเสนอซื้อหรือปริมาณเสนอขายมีความเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์หรืออุปทาน ถ้ามีความเปลี่ยนแปลงมากเรียกว่ามีความยืดหยุ่นมาก ถ้ามีความเปลี่ยนแปลงน้อยเรียกว่ามีความยืดหยุ่นน้อย ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงแสดงว่าไม่มีความยืดหยุ่นเลย
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ หมายถึง เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อตัวแปรอื่นๆที่เป็นตัวกำหนดปริมาณเสนอซื้อนั้นเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอร์เซนต์ ซึ่งเราจะศึกษากัน 3 ตัวคือ
- ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
- ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้
- ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น
ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาและลักษณะของเส้นอุปสงค์
เราไดศึกษาแล้วว่าปริมาณการเสนอซื้อ(Qd ) และปริมาณการเสนอขาย(QS ) ถูก กา หนดมาไดอ ้ ยา่ งไรและสามารถเปลี่ยนแปลงไปไดเ ้ มื่อปัจจยัที่มีอิทธิพลกา หนด Qd & QS มีการ เปลี่ยนแปลงอยา่ งไรกด ็ีเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป ปริมาณการเสนอซ้ือหรือปริมาณการเสนอ ขายในสินคา ้ แต่ละชนิดจะมีการเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากนั จึงไม่อาจจะนา เอามาเปรียบเทียบกนัไดว ้ า่ สินคา ้ใดมีปริมาณการเสนอซ้ือหรือปริมาณการเสนอขายที่เปลี่ยนแปลงไปมากกวา่ กนั เนื่องจากขนาด ของราคาและปริมาณ ตลอดจนหน่วยของสินคา ้ แตกต่างกนั แมว ้ า่ เราจะมีค่า slope ซ่ึงช้ีใหเห ็ นการ เปลี่ยนแปลงของP & Q กต ็ าม แต่จากปัญหาที่กล่าวมาจึงไม่สามารถนา ค่า slope มาวัดขนาดการ เปลี่ยนแปลงของ Qd & QS ของสินคา ้ แต่ละชนิดมาเปรียบเทียบกนัได ้เครื่องมือที่จะใช้วัดการ เปลี่ยนแปลงของ Qd & QS ในสินคา ้ แต่ละชนิดคือความยดืหยนุ่ (Elasticity) ซ่ึงใชว ้ ดัไดท ้ ้งัดา ้ นอุป สงค์และอุปทาน อันเป็ นแนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ชื่อ Alfred Marshall ความยดืหยนุ่ จะเป็ นการแสดงความสมั พนัธ์ระหวา่ งปรากฎการณ์2 อยา่ งวา่ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรและมีค่ามากนอ ้ ยเพียงไร ค่าความยดืหยนุ่ จะบอกวา่ ถ้าหากปรากฎการณ์ของเหตุมีการ เปลี่ยนแปลงไป 1% ปรากฎการณ์ของผลจะเปลี่ยนแปลงไปกี่%
ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานโมเดลของอุปสงค์และอุปทาน อธิบายว่า ตลาดมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ดุลยภาพ (equilibrium) ซึ่งปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานจะเท่ากัน เรียกราคาที่ภาวะดุลยภาพว่า ราคาดุลยภาพ และปริมาณสินค้าที่ภาวะนี้ว่า ปริมาณดุลยภาพ หากปริมาณอุปสงค์มากกว่าปริมาณอุปทาน ซึ่งเกิดเมื่อราคาสินค้าต่ำกว่าราคาดุลยภาพของสินค้านั้น จะเกิดการขาดแคลนสินค้า หรือเรียกว่ามีอุปสงค์ส่วนเกิน ในขณะที่เมื่อปริมาณอุปทานมากกว่าปริมาณอุปสงค์ คือเมื่อราคาสินค้าสูงกว่าราคาดุลยภาพ จะเกิดสินค้าล้นตลาด หรืออุปทานส่วนเกิน โดยเมื่อเกิดกรณีเหล่านี้ ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดจะตอบสนองจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ดุลยภาพต่อเนื่องกัน
สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในหลักการของอุปสงค์และอุปทานได้แก่ความยืดหยุ่น (elasticity) ในทฤษฏีของอุปสงค์และอุปทาน ความยืดหยุ่นคือการวัดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานต่อปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์หรืออุปทาน การศึกษาความยืดหยุ่นที่มักนำมาพิจารณาคือความยืดหยุ่นต่อราคา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของราคา
ปัจจัยที่กำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน
อุปทานของสินค้าเกษตรหรือปริมาณความต้องการขาย ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ทั้งนี้หากปัจจัยเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลให้อุปทานเปลี่ยนไปด้วย ตัวอย่างปัจจัยสำคัญที่ กำหนดอุปทาน เช่นสภาพดินฟ้าอากาศและฤดูกาล สภาพอากาศมีผลต่อปริมาณผลผลิตของสินค้าเกษตร เช่น หาก สภาพอากาศเอื้ออำนวย ผลผลิตการเกษตรที่ออกมาจะมีมาก นอกจากนี้ สินค้าเกษตรหลายชนิด
ออกเป็นฤดูกาล (Seasonality) ซึ่งจะมีผลต่ออุปทานสินค้าเกษตรในช่วงนั้นๆ เช่น ผลผลิตข้าวนาปี จะออกมามากในช่วงปลายปี เป็นต้น
จำนวนพื้นที่เพาะปลูก การเพิ่ม/ลดพื้นที่เพาะปลูกจะส่งผลต่อปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น/ลดลง
ผลผลิตต่อไร่ (Yield) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์พืช ช่วยให้สามารถผลิต สินค้าเกษตรได้เพิ่มขึ้น โดยใช้พื้นที่เท่าเดิม หรือมีต้นทุนต่ำลง
ราคาผลผลิตชนิดอื่น การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าชนิดหนึ่งอาจมีผลกระทบต่อปริมาณผลผลิต หรืออุปทานของสินค้าอีกชนิดหนึ่งได้ เช่น หากราคายางพาราสูงขึ้นมาก อาจจูงใจให้เกษตรกร ที่ปลูกสินค้าอื่น เช่น ข้าวโพด หันมาปลูกยางพาราแทน ส่งผลให้ผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตข้าวโพดลดลง เป็นต้น
เส้นอุปทานที่กล่าวมาแล้วเป็นความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการขายกับราคาของสินค้าหรือบริการนั้น โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆคงที่ หากเรานำปัจจัยตัวอื่นเข้ามาพิจารณา จะเห็นว่าปริมาณความต้องการขายสินค้าหรือปริมาณอุปทานมิได้ขึ้นอยู่กับราคาของสินค้าหรือบริการนั้นแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยตัวอื่นๆซึ่งได้แก่
- ต้นทุนการผลิต เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าปริมาณความต้องการเสนอขายหรืออุปทานจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางกลับกันกับต้นทุนการผลิตของผลผลิตหรือสินค้าหรือบริการนั้นๆ กล่าวคือ ภายใต้ต้นทุนการผลิตระดับหนึ่งถ้าต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของสินค้าหรือบริการสูงขึ้น ความสามารถในการเสนอขายหรืออุปทานจะมีปริมาณน้อยลง ถ้าต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลงปริมาณอุปทานจะมีมากขึ้น
- ราคาปัจจัยการผลิต เนื่องจากราคาปัจจัยการผลิตเป็นตัวกำหนดต้นทุนการผลิตของสินค้าหรือบริการ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของราคาปัจจัยการผลิตทำให้ต้นทุนการผลิตเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน เช่น ถ้าค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณความต้องการเสนอขายหรืออุปทานลดลงได้ และถ้ากลับกันก็จะให้ผลในทางตรงกันข้าม
- ราคาสินค้าชนิดอื่น การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าชนิดหนึ่งอาจมีผลกระทบต่อปริมาณความต้องการเสนอขายหรืออุปทานของสินค้าชนิดหนึ่งได้ เช่น ถ้าราคาส้มลดลง ชาวสวนอาจหันไปปลูกมะนาวแทน ทำให้ปริมาณความต้องการขายส้มลดลง ส่วนของมะนาวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตรายดังกล่าวคาดว่าตนจะได้รับกำไรเพิ่มขึ้นจากการปลูกมะนาวแทนส้ม
- เทคโนโลยีการผลิต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง เนื่องจากปัจจัยการผลิตจำนวนเท่าเดิมผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ปริมาณมากขึ้น นั่นคือ ความสามารถในการเสนอขายหรืออุปทานของสินค้าของผู้ผลิตมีเพิ่มขึ้น
- ภาษี จำนวนภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บจากการขายสินค้าและบริการเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดต้นทุนการผลิตของสินค้าและบริการ ถ้ารัฐบาลเก็บภาษีในอัตราสูงจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น ทำให้อุปทานลดลง แต่ถ้ารัฐบาลเก็บภาษีในอัตราลดลง ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าลดลง และอุปทานจะเพิ่มขึ้น
- การคาดการณ์ราคาสินค้าในอนาคต ถ้าผู้ผลิตคาดการณ์ว่าราคาสินค้าในอนาคตจะสูง ขึ้น ผู้ผลิตจะชะลอปริมาณการเสนอขายในปัจจุบันลง เพื่อจะเก็บไว้รอขายในอนาคต (อุปทานลดลง) ในทางกลับกัน ถ้าคาดการณ์ว่าราคาสินค้าในอนาคตจะลดลง ผู้ผลิตจะเพิ่มปริมาณการเสนอขายในปัจจุบันมากขึ้น (อุปทานเพิ่มขึ้น)
- สภาพดินฟ้าอากาศ ส่วนใหญ่จะมีอิทธิพลต่อผลผลิตทางการเกษตร ถ้าฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลผลผลิตก็จะมีมากและอุดมสมบูรณ์ แต่ถ้าสภาพดินฟ้าอากาศไม่ดีปริมาณผลผลิตก็จะมีน้อย
กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่ามีปัจจัยต่างๆมากมายที่เป็นตัวกำหนดหรือมีอิทธิพลต่อปริมาณความต้องการเสนอขายหรืออุปทานของสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวแต่เพียงเท่านี้
ประโยชน์จากการศึกษาเรื่องความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน
ประโยชน์ของความยืดหยุ่นความรู้เกี่ยวกับความยืดหยุ่นนับเป็นหัวใจสำคัญในการศึกษาหลักเศรษฐศาสตร์ ผู้ที่จะสามารถเข้าใจปัญหาทางเศรษฐกิจต่างๆ ได้ จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องของความยืดหยุ่นเป็นอย่างดี ชนิดของความยืดหยุ่นที่สำคัญและมีประโยชน์มากก็คือ ความยืดหยุ่นต่อราคา (price elasticity) ความยืดหยุ่นต่อราคาใช้วิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. ในการวิเคราะห์ปัญหาการเก็บภาษีและการผลักภาระภาษี เช่น การเก็บภาษีการค้าจากสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ ซึ่งมีค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์เป็นแบบ elastic ผลของราคาสินค้าที่สูงขึ้นอาจทำให้ผู้ซื้อลดการซื้อสินค้าสินค้าชนิดนั้นลงอย่างมาก ทำให้รายรับรวมของผู้ขายลดลงขณะเดียวกันรัฐบาลเก็บภาษีได้น้อย กรณีเช่นนี้ภาระภาษีส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้ขาย ตรงกันข้ามถ้าอุปสงค์ของสินค้ามีค่าความยืนหยุ่นต่ำ (inelastic) ภาระภาษีส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้บริโภค เพราะในกรณีนี้ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเก็บภาษีจะไม่มีผลมากนักในการลดจำนวนซื้อของผู้บริโภค การวิเคราะห์ดังกล่าวใช้ได้กับการเก็บภาษีทุกประเทศ เช่น ภาษีขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีเงินได้ และภาษีบริษัทธุรกิจ
2. ในการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ และอุปทานจำเป็นอย่างมากในการศึกษาผลของการเพิ่มหรือลดค่าของเงินที่มีต่อสินค้าเข้า สินค้าออก อัตราการค้า และดุลการชำระเงิน
3. ในการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดราคาขั้นสูง เช่น การกำหนดอัตราค่าเช่าขั้นสูง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยขั้นสูง เป็นต้น ก่อนจะตัดสินใจใช้มาตรการเหล่านี้ รัฐบาลจะต้องศึกษาความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานต่อราคา มิฉะนั้นการประกาศใช้มาตรการเหล่านี้อาจไม่บังเกิดผลหรืออาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี
4. ในการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการประกันราคาขั้นต่ำ ตัวอย่าง ได้แก่ การประกันราคาขั้นต่ำสำหรับพืชผลทางเกษตร ภาระการประกันราคาขั้นต่ำของรัฐบาลจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของเส้นอุปสงค์ นอกจากนี้ยังใช้วิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาการนัดหยุดงาน (strike) เพื่อเรียกร้องค่าจ้างแรงงานให้สูงขึ้นเราต้องคำนึงถึงผลสืบเนื่อง ค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นอาจทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าในราคาสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนและราคาขายสูงขึ้น ถ้าอุปสงค์ของสินค้านั้นมีความยืดหยุ่นสูง (elastic) ปริมาณซื้ออาจลดลงอย่างมาก และในที่สุดคนงานบางส่วนอาจต้องถูกออกจากงาน
5. ในการวิเคราะห์การกำหนดราคาขายที่แตกต่างกัน (price discrimination) การกำหนดราคาขายที่แตกต่างกันสำหรับสินค้าชนิดเดียวกันในตลาด 2 แห่ง จะเป็นไปได้ต่อเมื่ออุปสงค์มีความยืดหยุ่นต่างกัน
6. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ มีอิทธิพลยิ่งในการกำหนดราคาสำหรับกิจการสาธารณูปโภค เช่น การผลิตไฟฟ้า เป็นต้น อุปสงค์ของไฟฟ้าตามบ้านเรือนจะมีความยืดหยุ่นต่ำ เพราะหาสิ่งอื่นใช้ทดแทนไฟฟ้าได้ยากมาก แต่อุปสงค์ของไฟฟ้าตามวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมจะมีความยืดหยุ่นสูงกว่าครัวเรือนเพราะอาจใช้พลังงานอื่นๆ แทนไฟฟ้าได้ เช่น ถ่านหิน กำลังน้ำ และน้ำมัน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ในบางประเทศจึงมีการเก็บไฟฟ้าจากผู้ใช้ตามบ้านในราคาสูงกว่าที่เก็บจากธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น